รากแก้วความสุข Grass Root of Authentic Happiness
[Date : 4 June 2022 ]
 
Talent iceberg of Leadership
[Date : 21 June 2022 ]
 
Unlock Leadership Potential(1)
[Date : 10 May 2022 ]
 
ค่านิยมขององค์กร:พื้นฐานที่สำคัญในการขับพลังแห่งอัจฉริยภาพ
 

ค่านิยมขององค์กร : พ้ืนฐานที่สำคัญในการขับพลังแห่งอัจฉริยภาพ


 

        ถ้าสังเกตพฤติกรรมของคนไทยในปัจจุบันนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งของคนทำงานในกรุงเทพซึ่งครั้งหนึ่งเราได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้ม หรือ Land of smile ดูเหมือนว่ารอยยิ้มนั้นกำลังจะเหือดแห้งขึ้นทุกที และเป็นที่น่าสังเกตว่ายิ่งเป็นระหว่างเวลาทำงานดูเหมือนคนกรุงเทพจะเครียดขึ้น หลายคนตั้งคำถามว่าถ้าอย่างนั้นแล้วค่านิยมที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรจะเป็นตัวสร้างความกดดันหรือมีส่วนร่วมในการขับพลังแห่งอัจฉริยภาพกันแน่ ถ้าเรามีส่วนรวมในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเราควรจะปรับเปลี่ยนให้เกิดความพอดีในการสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เหมาะสมได้อย่างไร

ค่านิยมของสังคมไทยกับวัฒนธรรมองค์กร
        ดินแดนแห่งรอยยิ้ม หรือ Land of smile ที่เป็นชื่อเล่นของประเทสไทยเราน่าจะเป็นตัวบอกถึงพื้นฐานของค่านิยมของคนไทยเราได้เป็นอย่างดี ความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจให้กัน มีรอยยิ้มบนใบหน้าให้เห็นอยู่เสมอ เป็นภาพที่คงจะบ่งบอกถึงสัญญลักษณ์ของคนไทยที่ทั่วโลกยอมรับ แต่ปัจจุบันนี้การมองโลกของคนไทยเริ่มหันไปมองวัตถุนิยมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหรรมและกำลังจะเข้าไปในสังคมสารสนเทศหรือที่เรียกว่ายุค IT generation ทำให้เราต้องเปิดรับค่านิยมจากทางตะวันตกที่เน้นเป้าหมาย เน้นการหากำไร เน้นการแข่งขันและความสามารถในการบริหารความผกผันที่อยู่รอบตัวเรา
        ดังนั้นการเข้าสู่ยุคไร้พรมแดนทำให้เราต้องรู้จักแนวทางในการบริหารความสมดุลย์แห่งรอยยิ้มกับการผกผันของการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงอย่างมีศิลปะ มิฉะนั้นแล้วเราคงจะเกิดความสับสนในเอกลักษณ์ของตัวเราเองและไม่สามารถที่จะทนความกดดันของการเปลี่ยนแปลงที่ผกผันอยู่ตลอดเวลาได้

สมดุลย์ในการเจริญเติบโตเพื่อรับความผกผันในการเปลี่ยนแปลง
        ผู้เขียนเองได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวความคิดในการก้าวไปสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยกับคุณโชติ โภควณิช ผู้ที่ผู้เขียนชื่นชมในความสามารถในการผสมผสานค่านิยมทางตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกันสมัยที่เป็นกรรมการผู้จัดการอยู่ที่ บริษัทอีสท์ เอเซียติค จำกัด ตลอดจนยังเป็นประธานกลุมไทวาและนายกสมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย คุณโชติให้แนวความคิดว่าการเจริญเติบโตนั้นบางครั้งถ้าต้องการผสมผสานของใหม่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าเดิม ก้ต้องผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “Growing pain” นั่นก็คือ ความเจ็บปวดในการลอกคราบเก่าไปสู่มิติใหม่ ถ้าเราสังเกตุพฤติกรรมของตัวหนอนที่จะกลายเป็นผีเสื้อเราคงจะสังเกตคำว่า “Growing pain” ได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนเคยไปดูแนวการสอนทางชีววิทยาที่อาจารย์ได้นำเอาดักแด้ที่กำลังจะกลายเป็นผีเสื้อมาให้เด็กนักเรียนเฝ้าดูการเจริญเติบโต เมื่อดักแด้นั้นออกจากใยไหมมันจะต้องใช้พลังที่สั่งสมอยู่ทะลวงใยให้ฉีกขาดและความเจ็บปวดในการลอกคราบนั้นทำให้มันแข็งแรงขึ้นและมีความแกร่งในการที่จะโผบินไปในมิติใหม่ มีอยู่คราวหนึ่งที่เด็กช่วยเอามีดกรีดใยไหมที่พันอยู่รอบทำให้มันไม่ผ่านกระบวนการของความเจ็บปวด แทนที่จะดีความเห็นใจของเด็กนักเรียนกลับเป็นการทำลายความแข็งแรงที่กระบวนการธรรมชาติได้ทดสอบความพร้อมที่ผีเสื้อจะสร้างความแกร่งให้กับตัวเอง
        ถ้าเราสังเกตุดูใยไหมที่เกิดขึ้นที่ละเล็กทีละน้อยที่รอบตัวคนไทย สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่ทำเราให้ต้องหันมาพึ่งวิตถุนิยมมากขึ้นและเงินตราคือส่วนหนึ่งของชีวิต หรือบางคนอาจจะมองถึงเงินคือพระเจ้าก็ว่าได้ คุณโสภณ สุภาพงษ์ ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซคนล่าสุดและเป็นกรรมการผู้จัดการของน้ำมันบางจากได้กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่าคนไทยเราแลก รอยยิ้ม ป่าไม้อันชุ่มฉ่ำ ความโอบอ้อมอารี ความเห็นอกเห็นใจ การเกษตรชุมชนที่ในน้ำมีปลาในนามีข้าว กับ คำว่า “เงิน” ถ้าเราบริหารเงินอย่างไม่สมดุลย์และตกเป็นทาสของมันความเจ็บปวดในการสูญเสียสมดุลย์ก็จะเกิดขึ้น ทำให้ใยไหมที่อยู่รอบตัวเราหนาขึ้นทุกทีและการจะเอาชนะมันก็ต้องอาศัยความเจ็บปวดในการเรียนรู้ที่หนักขึ้นดังเช่นเมื่อ “เงิน” ที่เราสร้างขึ้นมาอันตราฐานหายไปนับแสนล้านในช่วงข้ามคืนรวมทั้งเงินก้อนใหม่ที่ให้เรามาเป็นหนี้ก้อนให ที่ถ้าเราบริหารไม่ดีอาจจะกลายเป็นทาสเขาตลอดไป แต่ถ้าเรามองดูว่ามันเป็นความเจ็บปวดในการเจริญเติบโตเราคงจะต้องเรียนรู้จากมันเพื่อให้ความเจ็บปวดนั้นสร้างชีวิตที่ดีกว่าดิมให้กับเราดังผีเสื้อที่มีชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิม

ค่านิยมตะวันตกกับความไม่สมดุลย์ของคนไทย
        ถ้าใครเคยทำงานในองค์กรต่างชาติคงจะรู้ดีว่าจะมีระลอกของความเครียดผ่านเข้ามาเป็นระยะไม่ว่าด้วยตัวเลขของยอดขาย ผลตอลแทนทางกำไร การเพิ่มเทคโนโลยี่เพื่อการแข่งขัน การวัดผลตอบแทน สิ่งเหล่านี้ทำให้เราต้องใช้ความสามารถของอัจฉริยภาพในสมองซีกซ้าย ที่ว่าด้วยตรรกวิทยาในการวิเคราะห็หาเหตุผล การวางแผนรายละเอียดและการติดตามผลงานตามเป้าหมายที่วางไว้ซึ่งเพื่อก็ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแต่การวิ่งตามการบริหารในสโตล์ตะวันตกอย่างมีระบบนั้นบางครั้งถ้ามากเกินไปแม้จะได้เงินก้อนโตที่เป็นผลตอบแทนแต่เราก็มักจะไม่ได้ใช้ความถนัดเชิงอัจฉริยภาพในสมองซีกขวาซึ่งว่าด้วยสัมพันธ์ภาพ ความมีน้ำใจ ความมีอิสระทางความคิด สุนทรีย์ทางดนตรี หรือเรื่องเกี่ยวกับจิตและใจ ซึ่งที่น่าแปลกก็คือต่างชาติกำลังตื่นตัวกันมากในการพัฒนาสมองซีกขวาให้เข้ามามีประโยชน์ในการบริหารมากขึ้น จะเห็นได้จากการปรับความสนใจจากการเพิ่ม IQ ในเด็กมาเน้นถึงการสร้าง Emotional Intelligence (EI) มากขึ้นนั่นก็คือการบริหารอัจฉริยภาพทางอารมณ์ซึ่งในอดีตมีสอนและให้การศึกษาทางด้านนี้น้อยมากส่วนใหญ่จะเน้นเรื่อง IQ กันซะมาก  อาจารย์ Daniel Goleman จากมหาวิทยาลัย Harvard ผู้บัญญัติศัพท์ EI นี้ขึ้นมาได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงต้องเป็น ผู้ที่มีพลังแห่งอัจฉริยภาพ หรือ Human Intelligence ที่ต้องประสานสมองทั้งสองส่วนคือรู้จัก พลังความคิดและศักยภาพ ที่มีอยู่ในตัวเองและสามารถประสานพลังนี้ให้เข้ากับพลังที่อยู่รอบตัวเองไม่ว่าจะในสังคมและองค์กที่เราอยู่  ถ้าเรามองแนวคิดนี้แล้วจะสังเกตุเห็นได้ชัดว่า คนไทยเราเก็งในแกน EI อยู่แล้วด้วยการประสานพลังด้วยความสนุก รอยยิ้มและสัมพันธภาพ การต่อท่อทางใจนี้คนไทยเราเก่งไม่เป็นสองรองใคร สังเกตดูถึงธุรกิจในการให้บริการที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกของโรงแรมโอรียลเต็ลหรือบริการรักคุณเท่าฟ้าของการบินไทย สิ่งเหล่านี้จะเห็นถึงการผสมผสานของค่านิยมขององค์กรที่ขับพลังอัจฉริยภาพที่มีอยู่ภายในคนไทยเป็นอย่างดีเพราะเราทำแบบที่ไม่เสแสร้งและไม่เป็นหุ่นยนต์ คนไทยเราไม่ต้องฝึกยิ้มในขณะที่คนต่างชาติต้องเรียนวิธีการยิ้มอย่างมืออาชีพ ผู้เขียนเคยไปสังเกตุการณ์ถึงการฝึกสอนของโรงแรมห้าดาวในอเมริกาที่มีชื่อเสียงมาก เขาถึงกับมีการสอนการฝึกยิ้มอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเมื่อหมดงานแล้วเขาก็จะหมดหน้าที่ในการยิ้ม ซึ่งต่างจากคนไทยที่เพื่อนฝรั่งของผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตุว่าคนไทยจะยิ้มก่อนเข้าทำงานระหว่างงานจะหน้าเครียดและจะยิ้มอีกทีก็ตอนที่เลิกงาน แสดงว่าระบบงานที่เรานำมาจากตะวันตกทำให้เราเลิกยิ้มแต่ต้องเดินตามมาตราฐานที่เขาตั้งเอาไว้ทำให้เราเอาของดีของเราทิ้งไปเสีย

การสร้างความสมดุลย์ของค่านิยมเพื่อขับพลังแห่งอัจฉริยภาพ
        ในเมื่อเราต้องยอมรับความจริงว่าเมื่อเราต้องอยู่ในกระแสของยุคโลกาภิวัฒน์เราคงต้องหาหนทางที่จะเจริญเติบโตภายใยไหมฟ้าที่หนาขึ้น อย่างชาญฉลาดและได้คุณค่าจากมันเต็มเปี่ยม ผู้เขียนเองอยากจะยกตัวอย่างที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปสร้างการผสมผสานของการสร้างสมดุลย์ในการผสมค่านิยมทั้งตะวันออกและตะวันตกที่หมุนการเจริญเติบโตด้วยความสนุกและรอยยิ้มที่สัมพันธ์กัน ถ้าเราเอ่ยถึงบริษัทที่เป็นผู้นำของการเร่งความเร็วของการเปลี่ยนแปลง บริษัทไมโครซอพท์คงจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่ผู้เขียนเองมีส่วนร่วมในการผสมผสานค่านิยมที่คุณอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ผู้ก่อตั้งไมโครซอพท์ประเทศไทยได้รับแนวความคิดโดยตรงมาจากมหาเศรษฐีอันอับหนึ่งของโลกก็คือ บิลล์เกตส์ คุณอาภรณ์เองได้ปรึกษากับผู้เขียนว่าถ้าจะสร้างวัฒนธรรมไมโครซอพท์สไตล์ไทยนั้นควรจะผสมผสานกันอย่างไรเพราะค่านิยมของบิลล์ เกตส์นั้นก็คือวิ่งด้วยความเร็วของรถเฟอรารี่แต่ข้อเสียสำหรับคนไทยก็คือจะ Burn-out หรือฟิวส์ขาดได้ง่ายและความสัมพันธ์ระหว่างกันจะเกิดไฟลุกอยู่ตลอดเวลา เพราะคนไทยนั้นถ้าการหมุนนั้นไม่เชื่อใจกันและไม่มีความสนุกอยู่ด้วยคงทำได้พักเดียว ผู้เขียนและทีมงานของผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอพท์จึงได้เรียบเรียงแนวความคิดถึงค่านิยมที่จะยึดถือเพื่อให้เกิดความสมดุลย์นั่นก็คือยังคงยึดสโตล์ไมโครซอพท์ทั่วโลกในการสร้างความเป็นผู้นำที่สามารถสิขิตชีวิตตัวเองที่ต้องผกผันกับการเปลี่ยนแปลงจากลูกค้าในกระแสของยุคโลกาภิวัฒน์ตลอดแต่ต้องผสมผสานเอกลักษณ์ของความเป็นไทยในการดึงเอาใจของทีมงานที่ต้องทำงานด้วยความสนุกมีการต่อท่อสายใจเพื่อร้อยเรียงให้เกิดความเชื่อใจและไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน การผสมผสานสองโลกเข้าด้วยกันนับเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างสมดุลย์ในการก้าวไปข้างหน้าแม้จะทำงานหนักแต่ก็มีรอยยิ้ม
        สำหรับองค์กรไทยที่กำลังจะเติบโตข้ามมิติไปสู่ตลาดต่างประเทศมักจะประสบปัญหาตรงกันข้ามนั่นก็คือมีสายใยที่ดีระหว่างผู้ก่อตั้งกับพนักงานซึ่งสมองซีกขวาที่สร้างการบริหารอัจฉริยภาพทางอารมณ์นั้นสร้างอารมณ์ร่วมของคนในองค์กรได้เป็นอย่างดีแต่เมื่อต้องการจะผลักดันให้เกิดการขยายตัวและก้าวไปในการแข่งขันแบบสากลการนำเอาระเบียบและวินัยการบริหารแบบตะวันตกเข้ามาจะกลายเป็นสิ่งใหม่ที่บางครั้งถ้าผสมผสานไม่ดีอาจจะกลายเป็นการจำกัดเสรีภาพทางความคิดและเกิดความสับสนในการสร้างวัฒนธรรมใหม่เพราะเส้นทางอันเปราะบางนี้เก่อตั้งบางคนใช้วิธีลัดก็คือจ้างมืออาชีพที่มาจากค่านิยมแบบตะวันตกเข้ามาบริหารอาจทำให้เส้นใยนี้ขาดโดยง่ายและคนที่อยู่ก็มิได้เจริยเติบโตและพร้อมที่จะช่วยเหลือตัวเองในเพื่อรองรับการผันผวนทางค่านิยมในยุคโลกาภิวัฒน์ ถ้าต้องการตัวอย่างในการผสมผสานค่านิยมที่หลากหลายผู้เขียนเองได้ทำวิจัยองค์กรในหลายรูปแบบและสรุปออกมาอยู่ในหนังสือพลังแห่งอัจฉริยภาพที่หาได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไปหรือสั่งซื้อในราคาพิเศษได้ที่ people magazine   
        สำหรับองค์กรแบบไทยๆ ที่ต้องวิ่งอยู่ในกระแสของการเปลี่ยนแปลงที่ผกผันอย่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดีที่ทีมงานของผู้เขียนเองได้มีส่วนช่วยเป็นที่ปรึกษาในการเรียบเรียงค่านิยมขององค์กรใหม่เพื่อสร้างความสมดุลย์ในการประสานความเร็วในการไปข้างหน้าพร้อมทั้งยังรักษาน้ำใจของทีมงานในการให้บริการที่เป็นเลิศ สิ่งที่ทีมงานของผู้เขียนประทับใจในคนของตลาดหลักทรัพย์ก็คือการร่วมมือร่วมใจที่จะสร้างสรรค์วัฒนธรรมใหม่ที่จะปลดปล่อยพลังแห่งอัจฉริยภาพอย่างแท้จริง สังเกตได้จากบทเพลง culture ใหม่ที่ถูกร้อยเรียงเข้าไปในใจของทุกคนและบทเพลงรวมทั้งเนื้อร้องและผู้ร้องเกิดจากกระแสของพลังร่วมกันตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงไปจนถึงพนักงานทุกระดับในองค์กรดังเนื้อร้องต่อไปนี้

“พวกเราร่วมใจกันพัฒนา                                          เพื่อชาวประชาทั่วไทยชื่นชม
 ร่วมมิตรจิตใจพี่น้องเกลียวกลม                                เพื่อความประสงค์ระดมเลื่องลือ(ตลอดไป)
  เราร่วมกันสร้างฝันสู่วันอันยิ่งใหญ่                          มุ่งมั่นก้าวไปด้วยใจมั่นคง
  เสริมสร้างความโปร่งใสด้วยใจที่เที่ยงตรง              และเป็นสุขล้นด้วยความตั้งใจ
  เรามีจิตใจที่เห็นคล้ายกัน                                         มีความผูกพันที่ดี
  นับแต่วันนี้วินาทีนี้                                                    จะร้อยใจเป็นหนึ่งเดียว

        บทเพลงของค่านิยมใหม่นี้เปรียบเสมือนบรรยากาศที่ปลุกพลังให้คนในตลาดหลักทรัพย์สามารถก้าวไปสู่มิติใหม่แม้จะต้องผ่านมิติของความเจ็บปวดในการเจริญเติบโตแต่สุนทรีย์ของบทเพลงจะทำให้เขาเหล่านั้นสนุกในการเปลี่ยนแปลง ผู้เขียนมีความเชื่อว่าคนไทยเราต้องมีความสนุกทั้งในค่านิยมและกระบวนการของการปรับแต่งวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสร้างใยไหมในการขับพลังแห่งอัจฉริยภาพของคนไทยให้ก้าวไปสู่ความพร้อมในระดับสากล



 
โดย อาจารย์กฤษณ์ รุยาพร  E-mail : kris@e-apic.com, Mobile 081-617-7785 
บทความได้รับการเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์


Home    l    About Us    l    Education Program    l    Consulting    l    Clients    l    Online Test
Books & Multi    l    Apic Leadership Review    l    Contact Us