รากแก้วความสุข Grass Root of Authentic Happiness
[Date : 4 June 2022 ]
 
Talent iceberg of Leadership
[Date : 21 June 2022 ]
 
Unlock Leadership Potential(1)
[Date : 10 May 2022 ]
 
การสร้างทีมงานอัจฉริยะ Hi-Trust Hi-Performance team
 

การสร้างทีมงานอัจฉริยะ Hi-Trust Hi-Performance team




        การปลดปล่อยพลังแห่งอัจฉริยภาพที่ซ่อนเร้นในตัวของทีมงานและประสานให้ก่อเกิดเป็นความรู้ความสามารถที่สร้างสรรค์ Innovation เพื่อพิชิตความท้าทายที่ใครๆก็คิดว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็น Intellecutal competencies ของการสร้างความได้เปรียบของการแข่งขันขององค์กรที่ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงในโลกของ Hi-Tech Hi-Touch  กระแสของการเปลี่ยนแปลงในยุค Internet ทำให้รูปแบบของการบริหารทีมงานในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจากรูปแบบของโครงสร้างที่มีรูปแบบแน่นอนและเด่นชัดไปเป็นการสร้างทีมงานที่ต้องมีความสามารถในการประกอบทีม แยกสลายตัวและสามารถไปฟอร์มรูปแบบใหม่ในการทำงานที่มีที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับกระแสที่ผกผันอยู่ตลอดเวลา กรอบความคิดใหม่ของการสร้างทีมงานเป็นสิ่งที่ผู้บริหารของหลายองค์กรกำลังแสวงหาคำตอบเพื่อที่จะขับพลังแห่ง อัจฉริยภาพที่ซ่อนเร้นที่อยู่ภายในให้กลายเป็น Intellectual competencies เพื่อการสร้างความได้เปรียบขององค์กรในยุค Hi-Tech Hi-Touch

อัจฉริยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในทีม
        ในการสร้าง Hi-trust Hi-performance team จำเป็นที่จะต้องเข้าใจพื้นฐานของพลังที่อยู่ในทีมเสียก่อนว่าความถนัดพื้นฐานเชิงอัจฉริยภาพนั้นอยู่ในมิติไหนเพราะการประกอบภาพเป็นทีมนั้นมิใช่แค่มีกลุ่มคนมาอยู่ด้วยกันแต่ต้องสามารถที่จะต้องผนึกกำลังเปรียบเสมือนเหลี่ยมของเพชรเมล็ดงามที่ถูกจัดมุมให้เกิดการกระจายแสงให้เจิดจรัสที่สุด จากศึกษาของวิจัยร่วมกันระหว่างผู้เขียนกับ Dr.Ned Hermann เจ้าของ Whole brain technology ซึ่งทำการวิเคราห์ความถนัดเชิงอัจฉริยภาพมามากกว่า 3 ล้านคนทั่วโลกพบว่าความถนัดถ้าแบ่งตามพื้นฐานของการทำงานของสมองนั้นแบ่งได้เป็น 4 ส่วนคือความสามารถในการเป็นนักจินตนาการ,  นักคิด,นักจัดการและนักประสาน ซึ่งการสร้างความถนัดให้กลายเป็นพลังแห่งอัจฉริยภาพนั้นเป็นการสั่งสมความถนัดไว้ในสมองของเรา ถ้าใครสนใจแนวทางการสร้างกลยุทธ์ในการขับพลังแห่งอัจฉริยภาพสามารถศึกษารายละเอียดจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในตัวอย่างของหนังสือ “พลังแห่งอัจฉริยภาพ” ซึ่งหาได้จาก People Magazine หรือตามร้านหนังสือทั่วไป ถ้าทุกคนในทีมงานรู้จักความถนัดและจุดด้อยของตัวเองการประสานพลังจากทุกคนในทีมสามารถทำได้โดยง่ายถ้านำเอากระบวนการที่ถูกต้องมารวมพลังเพื่อให้เกิดทีมงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอัจฉริยภาพ ถ้าสังเกตดูองค์กรชั้นนำในวงการ Hi-tech Hi-touch อย่าง Microsoft นั้น บิลล์ เกตส์ ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานกรรมการบริหารตลอดจนเป็นบุคคลที่ถือว่าร่ำรวยที่สุดในโลกในปัจจุบันนี้ใช้เวลาในการสร้างเนื้อสร้างตัว 20 ปี จากบริษัท software เล็กๆ มาจนเป็นบริษัทที่มีค่ามากกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบันนี้ในขณะที่มีพนักงานทั่วโลกเพียง 20,000 คนเท่านั้น ผู้เขียนเองได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาทางด้านการพัฒนาบุคคลากรของไมโครซอพท์และได้ตระหนักถึงแนวทางที่คุณอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้งไมโครซอพท์ที่เมืองไทยใช้หลักการในการเลือกสรรคนแบบเดียวกับที่บิลล์เลือกนั่นก็คือเลือกคนที่มี passion หรือเป็นคนที่มีไฟและมีความสนุกรักที่จะสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาจากความคิดและฝีมือของเขาเองซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก เราจะสังเกตได้จากตัวเขาเองที่เป็นผู้นำองค์กรซึ่งมีคนเคยถาม ว่ารวยขนาดนี้แล้วทำไมถึงยังทำงานอยู่ บิลล์กลับให้ข้อคิดที่สำคัญก็คือ “สิ่งที่ผมทำก็คือตัวผม เป็นสิ่งที่ผมรักและนี้ก็คือชีวิตผม” ถ้าเรามี Passionกับงานที่ทำก็จะเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญในการปลดปล่อยพลังแห่งอัจฉริยภาพให้เกิดขึ้น เพราะพลังขับเคลื่อนตัวสำคัญนี้จะสร้างความมุ่งมั่นในการปลุกพลังที่ซ่อนเร้นในตัวด้วยคำมั่นสัญญาและความกล้าที่จะเดินทางไปในทิศที่แม้คนอื่นยังไม่เคยเดินหรือสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่คนอื่นไม่เคยทำมาก่อนด้วยความสนุก

กระบวนการในการสร้าง Hi-Trust Hi-Performance Team
        การดึงเอาพลังแห่งอัจฉริยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ออกมาเป็นศักยภาพในการสร้างความสำเร็จเป็นพื้นฐานสำคัญในกระบวนการสร้างทีมงานเพราะเมื่อทุกคนเข้าใจจุดเด่นและจุดด้อยแล้วจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นกระบวนการด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 4 ประการดังคำว่า T-E-A-M นั้นก็คือ
     1.  Trust นั่นก็คือมีความเชื่อมั่นและเคารพความสามารถของคนในทีมตลอดจนมีพื้นฐานในการวางแนวทางเพื่อสร้างความสำเร็จที่เกื้อกูลกัน
     2.   Envision นั่นก็คือการสร้างพลังแห่งเป้าประสงค์ร่วมกันโดยเปลี่ยน passion ส่วนบุคคลด้วยการร่วมพลังและสร้างวิสัยทัศน์สู่ความสำเร็จของทีมร่วมกัน (Envision) ตลอดจนสร้างทำนองและจังหวะที่สร้างการปลุกใจให้เกิดพลังจากทุกคนในทีม
     3.   Add on นั่นคือการต่อยอดความสามารถจากความคิดของผู้ร่วมทีมยิ่งถ้าทีมมีความหลากหลายและแตกต่างก็จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และแนวนวัตกรรมใหม่ๆ ในการสร้างแนวทางสู่เป้าหมายที่วางไว้
     4.   Maturity นั่นคือการสร้างวุฒิภาวะในการประสานพลังของทีมให้เกิดการเจริญเติบโตและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา  ถ้าเปรียบกระบวนการในการสร้างทีมงาน (T-E-A-M process) ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและคุณภาพก็เสมือนการสร้างวงดนตรีที่ต้องประสานอัจฉริยภาพของผู้เล่นในวงที่มีความถนัดในชิ้นดนตรีที่แตกต่างกันสิ่งแรกที่ต้องทำก็คือมีการเชื่อมั่นและมีความมั่นใจในฝีมือพร้อมทั้งรู้จักความถนัดและสิ่งที่ไม่ชอบของทุกคนในวงดนตรีบางคนชอบอยู่เบื้องหลังการถ่ายทำอยากเล่นกลองอยู่ด้านหลังในขณะที่อีกคนมีความสามารถในการเป็นนักร้องและมีความสามารถในการเข้าถึงจิตใจคนดูและสร้างบรรยากาศของความสนุกร่วมกัน แต่ที่สำคัญจะต้องมีโน็ตเพลงหรือวิสัยทัศน์ที่ร่วมกันตลอดจนต้องรู้จักจังหวะและลีลาของการเล่นของทีมงานในรูปแบบของการผสมผสานที่สามารถขับอัจฉริยภาพได้อย่างเต็มรูปแบบ   คุณอาภรณ์ศรีพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้งไมโครซอพท์แห่งประเทศไทยได้เคยเปรียบเทียบให้ผู้เขียนฟังว่าดนตรีในหัวใจของคนไมโครซอพท์ก็คือคล้ายกับการเล่น ดนตรี jazz ที่มีการ Jamming เพื่อสร้าง Innovation อยู่ตลอดเวลา ถ้าทีมงานเข้ามาประชุมร่วมกันทุกความคิดในที่ประชุมนั้นสำคัญมากทุกคนต้องแสดงความคิดเห็นและต้องมีความสามารถในการต่อยอดหรือ add on ความคิดร่วมกันอยู่ตลอดเวลา                             กระบวนการที่สำคัญในการประสานจะเริ่มต้นไม่ได้หากทีมงานแต่ละคนมิได้เคารพในความต่างของทีมงานและไม่เชื่อมั่นในฝีมือตลอดจนไม่รู้ใจกันว่าสไตล์ในความถนัดนั้นคืออะไร ผู้นำทีมที่เก่งก็จะเปรียบเสมือนหัวหน้าวงที่ต้องคอยดูความสัมพันธ์ของความถนัด สไตล์ใจและเอกลักษณ์ให้เกิดการประสานที่ละมุนละม่อมตลอดจนยังคงไว้ซึ่งอัจฉริยภาพของแต่ละคน นอกเหนือจากนั้นวุมิภาวะในการเข้าอกเข้าใจความรู้สึกพร้อมทั้งการสร้างความเรียนรู้เพื่อพัฒนาทีมงานสู่มิติใหม่ๆจำเป็นอย่างมากในยุคของการแข่งขันที่ไร้พรมแดน

วัฒนธรรมที่ develop และ retain ทีมงานอัจฉริย
        สถาปัตย์กรรมในการสร้างบรรยากาศเพื่อขับพลังของทีมทั้งยังหล่อหลอมให้ทีมงานมีใจและประสานความต่างให้ก่อเกิดเป็นผลรวมที่ Extra ordinary กว่าเดิมเป็นปัจจัยที่สำคัญในการ develop และ retain ทีมงาน ผู้เขียนได้ข้อคิดที่ดีในการสร้างสถาปัตยกรรมจากคุณจิรพรรณ อังศวานนท์ผู้แต่งเพลง “รักคือคำๆ นี้” ในโฆษณา Nescafe และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวงฟองน้ำกับ อาจารย์   บรูซว่ารูปแบบวงฟองน้ำคือบรรยากาศของการผสมผสานดนตรีไทยกับเทศที่สามารถสร้างความมหัศจรรย์ของการผสมผสานอัจฉริยภาพของนักดนตรีไทยและเทศในเอกลักษณ์ของการผสมผสานใหม่ซึ่งในบรรยากาศใหม่นั้นยังช่วยเสริมและสร้างหัวใจของนักดนตรีให้สะใจกับการเล่นด้วย  บางครั้ง Hi-Technology ก็เปรียบเสมือนดนตรีตะวันตก Hi-Touch ก็เปรียบเสมือนดนตรีไทย ที่ถ้าวงไหนสามารถผสมผสานบรรยากาศความต่างได้อย่างกลมกลืนดั่งวงฟองน้ำก็จะสร้างความพร้อมในการประสานทีมงานเต็มไปด้วยแนวความคิดไหมพร้อมใจที่เปิดให้แก่กัน นอกหนือจากนั้นทักษะของทีมงานไม่ว่าจะเป็นการมีการบริหารการสื่อสาร การบริหารเวลา การบริหารโครงการและการเปลี่ยนแปลง ความมีวุฒิภาวะของความเป็นผู้นำและแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ก็ล้วนแต่เป็นส่วนที่ประกอบให้ทีมสามารถสร้างความเป็นมืออาชีพได้โดดเด่นยิ่งขึ้น
         สำหรับในกรณีของ หม่อมหลวงชัยวัฒน์ ชยางกูรผู้เป็น Conductor หรือ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท Compaq(Thailand) ได้คุยกับผู้เขียนไว้ในหนังสือ “พลังอัจฉริยภาพ”  โดยปัจจุบันนี้องค์กรของ Compaqเกิดจากการรวมตัวของบริษัทยักษ์ใหญ่ 2 ค่ายนั่นก็คือ compaq และ digital   ในการ conduct เอาศิลปิน  2 ค่ายคือ  Compaq ซึ่งสไตล์การเล่นเป็นแบบของ Pop มารวมกับ Digital ซึ่งเล่นในสไตล์ Rock  N Roll  จะต้องสร้าง โครงสร้างของสถาปัตย์กรรมของ Culture เพื่อสามารถดึงเอาความเด่นของนักดนตรีมาเล่นในวัฒนธรรม Compaq ยุคใหมที่เป็นแนวผสมของการเน้น Hi-Tech Lean distribution ในโลกของ compaq ซึ่งเป็นเครื่องขนาดเล็ก และ Hi-Touch professional services ในโลกของมืออาชีพจาก digital            
        องค์กรที่ Hi-tech มักจะนำเอาความสามารถเหล่านี้ของทีมเก็บใส่ไว่ใน skill database เพื่อที่จะได้รู้ได้ด้วย Hi-touch ว่า intellectual competencies ขององค์กรนั้นอยู่ที่ไหนและเขาเหล่านั้นมีเวลาว่างที่สามารถจะมาร่วมทีมงานหรือไม่ตลอดจนสิ่งที่สำคัญก็คือเราได้ใช้เขาจน burn-out หรือเปล่าเพราะคนที่เก่งมักจะถูกใช้งานหนักจนบางครั้งไม่มีเวลาพักผ่อนและแสวงหาความรู้ใหม่ๆ
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่หลายทีมมักจะลืมในการสร้างสรรค์ให้หัวใจของทีมงานพองโตอย่างต่อเนื่องก็คือการสนับสนุนให้เกิดโครงสร้าง ระบบงานตลอดจนผลตอบแทนที่เหมาะสมเพื่อขับพลังแฝงที่ซ่อนเร้นออกมาให้ได้อย่างเต็มกำลัง มีหลายครั้งที่ผู้บริหารมักจะพูดแต่ปากว่าทำงานเป็นทีมแต่ให้รางวัลหรือยกย่องศิลปินเดี่ยว หรือ Hero เพียงคนเดียว สิ่งสนับสนุนเหล่านี้เปรียบเสมือนความศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้นำทีมต้องทั้งคิด ทั้งสนับสนุนเพื่อที่จะทำให้ทีมงานขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่ต้องเหลียวหลัง
        ทีมงานที่เล่นเข้าขากันถึงขนาดที่เรียกว่า Hi-trust Hi-performance team มักจะบรรยายตัวเองถึงจุดมหัศจรรย์นี้ว่าเราเล่นด้วยความสนุกแม้จะอยู่ในสภาวะของการแข่งขัน คู่แข่งจะผลักดันให้เรารู้จักบางสิ่งบางอย่างที่เป็นพลังซ่อนเร้นอยู่ในทีมงานแต่ไม่เคยนำออกมาใช้ ทีมกีฬาหลายทีมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมบาสเกตบอลที่ประสบความสำเร็จได้บรรยายเหตุการณ์นี้ว่าเสมือนการเล่นใน mode ของ slow motion ที่ทุกจังหวะข้างหน้าเราสามารถคาดการณ์ได้ว่าลูกจะไปอยู่ที่ไหนและทีมงานของเราควรส่งลูกไปในตำแหน่งเพื่อทำคะแนนได้อย่างสะใจ ถ้าทีมงานสามารถเข้าขากันได้ถึงมิติตรงนี้ทีมงานจะทำงานด้วยความสนุกและจะไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพราะรู้จังหวะและใจของคนในทีมงาน  ในกระแสของนวัตกรรมและโลกาภิวัฒน์ เราคงจะหลีกเลี่ยงโลกการปรับสร้างองค์กรให้เข้าไปอยู่ในรูปแบบของ Hi-Tech และ Hi-Touch ไม่ได้ แต่สิ่งที่เราทำได้ก็คือการสร้างความพร้อมในการสร้าง ทีม Hi-trust และ Hi-Performance เพื่อสร้างพื้นฐานของความเป็นมืออาชีพให้กับคนไทยยุคใหม่ที่ต้องไปต่อสู้กับสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 



 
โดย อาจารย์กฤษณ์ รุยาพร  E-mail : kris@e-apic.com, Mobile 081-617-7785 
บทความได้รับการเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์


Home    l    About Us    l    Education Program    l    Consulting    l    Clients    l    Online Test
Books & Multi    l    Apic Leadership Review    l    Contact Us