รากแก้วความสุข Grass Root of Authentic Happiness
[Date : 4 June 2022 ]
 
Talent iceberg of Leadership
[Date : 21 June 2022 ]
 
Unlock Leadership Potential(1)
[Date : 10 May 2022 ]
 
การบริหารอัจฉริยภาพในการประสานความสัมพันธ์
 

การบริหารอัจฉริยภาพในการประสานความสัมพันธ์


 
          การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีไม่ว่ากับลูกค้าคนสำคัญกับทีมงานตลอดจนคู่ค้าทางธุรกิจถือเป็นหัวใจหลักในการบริหารความสำเร็จของมืออาชีพ ในอดีตเรามักจะเน้นความสำคัญในการพัฒนาความสามารถเชิงในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล (logical intelligence) หรือความสามารถทางด้านภาษา (Linguistic Intelligence) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนหรือตามมหาวิทยาลัยมักจะให้ความสำคัญเฉพาะสายวิทย์หรือศิลป์ ไม่ว่าแบบข้อสอบหรือการทดสอบความสามารถต่างๆ เรามักจะทดสอบ IQ แต่มักจะมองข้ามความสามารถในการบริหารอารมณ์ EQ ( Emotional Intelligence) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการประสานสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น  เรามักเน้นความสำเร็จส่วนบุคคลแต่มิได้เน้นถึงการสร้างสัมพันธ์ในการทำงานเป็นทีม ถ้าเราสังเกตุดูให้ดียิ่งสูงขึ้นไปเท่าไหร่ในอาชีพการงานอัจฉริยภาพในการประสานความสัมพันธ์ยิ่งมีความสัมพันธ์มากขึ้นเท่านั้นเพราะถ้าไม่เกิดความสัมพันธ์แบบเกื้อกูลแล้วยิ่งสูงก็จะยิ่งหนาวโดยเฉพาะในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนี้แล้วใครที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างมักจะได้แต้มต่อของการสร้างโอกาสทางธุรกิจหรือแม้แต่การประนอมหนี้จากคู่ค้าธุรกิจคนสำคัญ  บางท่านอาจจะมีคำถามว่าแล้วการบริหารอัจฉริยภาพในการประสานสัมพันธ์นั้นเรียนรู้กันได้อย่างไรอ่านจากหนังสืออย่างเดียวหรือจากผู้รู้เท่านั้นพอหรือไม่

          การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีไม่ว่ากับลูกค้าคนสำคัญกับทีมงานตลอดจนคู่ค้าทางธุรกิจถือเป็นหัวใจหลักในการบริหารความสำเร็จของมืออาชีพ ในอดีตเรามักจะเน้นความสำคัญในการพัฒนาความสามารถเชิงในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล( logical intelligence) หรือความสามารถทางด้านภาษา(Linguistic Intelligence) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนหรือตามมหาวิทยาลัยมักจะให้ความสำคัญเฉพาะสายวิทย์หรือศิลป์ ไม่ว่าแบบข้อสอบหรือการทดสอบความสามารถต่างๆ เรามักจะทดสอบ IQ แต่มักจะมองข้ามความสามารถในการบริหารอารมณ์ EQ( Emotional Intelligence) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการประสานสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น  เรามักเน้นความสำเร็จส่วนบุคคลแต่มิได้เน้นถึงการสร้างสัมพันธ์ในการทำงานเป็นทีม ถ้าเราสังเกตุดูให้ดียิ่งสูงขึ้นไปเท่าไหร่ในอาชีพการงานอัจฉริยภาพในการประสานความสัมพันธ์ยิ่งมีความสัมพันธ์มากขึ้นเท่านั้นเพราะถ้าไม่เกิดความสัมพันธ์แบบเกื้อกูลแล้วยิ่งสูงก็จะยิ่งหนาวโดยเฉพาะในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนี้แล้วใครที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างมักจะได้แต้มต่อของการสร้างโอกาสทางธุรกิจหรือแม้แต่การประนอมหนี้จากคู่ค้าธุรกิจคนสำคัญ  บางท่านอาจจะมีคำถามว่าแล้วการบริหารอัจฉริยภาพในการประสานสัมพันธ์นั้นเรียนรู้กันได้อย่างไรอ่านจากหนังสืออย่างเดียวหรือจากผู้รู้เท่านั้นพอหรือไม่ ถ้าสังเกตุดูให้ดีถึงความสามารถในการเรียนรู้ของคนเรานั้นมาจากสะสมความรู้และประสบการณ์เข้าไปในส่วนต่างๆที่อยู่ในสมองของเรา การเรียนรู้แนวความคิดใหม่ๆนั้นเราจะเอาข้อมูลใหม่มาสั่งสมไว้ในสมองส่วนบนที่เรียกว่า Neocortex โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความสามารถทางด้าน Logical intelligence หรือตรรกวิทยามักจะใช้สมองส่วนนี้เป็นหลักแต่สำหรับ Emotional intelligence นั้นจะมาจากการการผสมผสานระหว่างสมองซีกบนคือ neocortex กับสมองส่วนล่างที่ชื่อว่า Limbic โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ทางอารมณ์นั้นจะมาจากการสั่งสมประสบการณ์จากแนวปฏิบัติ หลายคนมักจะมีความคิดที่ว่าไปเข้าหลักสูตรที่แพงๆ แล้วจะทำให้เราสามารถบริหารอารมณ์ได้ดีขึ้นแต่จริงๆ แล้วการเรียนรู้หลักการณ์ใหม่ๆ นั้นจะต้องอาศัยการเรียนรู้สั่งสมจากการปฎิบัติด้วยเพื่อเอาแนวความคิดใหม่ๆ นั้นมาสร้างเป็นความสามารถใหม่ขึ้นมาซึ่งต่างจากการเรียนรู้ทางด้าน Logical ที่เราสามารถสะสมได้จากการค้นคว้าอ่านจากความเก่งของคนอื่น จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองที่เป็นที่ปรึกษากับผู้บริหารระดับสูงหลายองค์กรพบว่าหลังจากที่ให้การเรียนรู้ทางด้าน concept ใหม่ๆ ในการประสานสัมพันธ์และดึงเอาอัจฉริยภาพที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้ให้ถูกต้องแล้วการประกบคู่กับผู้บริหารในลักษณะที่เป็นโค็ช(coach)เพื่อแนะนำการปรับปรุงแก้ไขในหลักการณ์ต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากเพราะการเรียนรู้ในการประยุกต์จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของการประสานสัมพันธ์กับทีมงานและการเรียนรู้ในจุดนี้จะมีผลอย่างมากในการปรับเปลี่ยนนิสัยในการบริหารอารมณ์
         หลักสูตรยอดนิยมที่ผู้เขียนเองนั้นได้จัดขึ้นกับองค์กรชั้นนำข้ามชาติหลายแห่งหลายแห่ง อาทิเช่น Microsoft General Motors ในหัวข้อ Relationship Innovation and Emotional Intelligence (การบริหารอัจฉริยภาพในการประสานความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์) ซึ่งผู้เขียนได้รับ feedback ที่น่าสนใจจากผู้บริหารที่เข้าร่วมสัมนนาซึ่งมาจากทั่วทุกมุมโลกทั้งในซีกตะวันตกและตะวันออก ถ้าเป็นผู้บริหารจากภูมิภาคเอเซียโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยนั้นจะให้ความสำคัญในการประสานสัมพันธ์กับความละเอียดอ่อนทางอารมณ์และความรู้สึกมากกว่าทางตะวันตกซึ่งเขาจะเน้นความสามารถเชิงความคิดมากกว่าโดยเฉพาะทางด้าน conceptualize thinking โดยนำเอาเป้าหมายรวมหรือวิสัยทัศน์เข้ามาเป็นตัวร่วมในการประสานสัมพันธ์
ผู้บริหารต่างชาติที่ต้องเข้ามาทำงานในเมืองไทยถ้าต้องการประสานสัมพันธ์ต้องเข้าใจคำว่าละเอียดอ่อนของคำอย่างเช่น “เกรงใจ” ซึ่งไม่มีอยู่ในภาษาอังกฤษตลอดจนกรอบความคิดหรือมุมมองในความสัมพันธ์ของคนไทยที่เกี่ยวเนื่องกับเงื่อนไขของเวลา คนในตะวันตกจะมองเห็นชีวิตเป็นเส้นตรง ถ้าตกรถไฟขบวนปัจจุบันนี้ขบวนหน้าจะไม่มาอีก ในขณะที่คนไทยเรามองเห็นว่าชีวิตเป็นวงกลมชาตินี้ทำไม่สำเร็จชาติหน้าก็ยังสามารถทำต่อได้อีกเพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ในระยะยาวจะมีความสำคัญมากสำหรับคนตะวันออกรวมทั้งวัฒนธรรมเรานั้นมักจะรวมความสนุกไว้กับกิจกรรมและประเพณีพื้นบ้านทำให้เราสามารถจะบริหารรอยยิ้มอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าชาวตะวันตก
ผู้เขียนเองได้ทำการศึกษาและวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญในการประสานสัมพันธ์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในแถบเอเซียแปซิฟิก พบว่าผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะมีหลักการณ์ในการประสานสัมพันธ์ด้วยหลักการคล้ายๆกัน ใครที่สนใจจะศึกษารายละเอียดสามารถหาอ่านได้จากหนังสือ “พลังแห่งอัจฉริยภาพ” ซึ่งผู้เขียนเองได้รวบรวมผู้ประสบความสำเร็จที่นำเอาอัจฉริยภาพทางด้านนี้มาใช้ไม่ว่าจะเป็นในประเทศเราหรือจากต่างประเทศ ที่สำคัญผู้บริหารทั้งหลายนำเอาหลักการที่คล้ายๆกันโดยผู้เขียนได้รวบรวมโดยใช้คำว่า “SMILE” เป็นแกนกลางนั่นก็คือ

          S-Self-awareness (รู้จักตัวเอง) การสร้างสรรค์ความสัมพันธ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักพื้นฐานของการสื่อสารและแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ของตัวเราเองว่าเรามีความชอบและความถนัดในรูปแบบใดและจุดบอดของเรามีตรงไหนบ้างเพราะถ้าเรารู้จักตรงนี้ดีแล้วเราสามารถที่จะวางกลยุทธในการสร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับตัวเองและยังคงไว้ซึ่งความเป็นตัวของตัวเองด้วย ผู้เขียนเคยเป็นโค้ชให้กับกรรมการผู้จัดการระดับข้ามชาติซึ่งหลังจากการวิเคราะห์ความถนัดในการสื่อสารแล้วพบว่าผู้บริหารท่านนี้ชอบสื่อสารด้วยภาพรวมแต่ไม่สนใจรายละเอียดตลอดจนให้ความสำคัญกับจิตและใจของทีมงานน้อยมาก ถ้าภาพที่จะไปข้างหน้าตื่นเต้นก็เกิดพลังที่จะวิ่งไปถ่ายผ่องถ่ายความตื่นเต้นกับทีมงานเลยโดยไม่ได้หยุดคิดถึงรายละเอียดและความเป็นไปได้ซึ่งก็คล้ายๆ เจ้าของกิจการในระดับ SME หลายแห่ง ในอดีตผู้บริหารท่านนี้ไม่รู้จุดอ่อนตรงนี้ทำให้การสื่อสารนั้นถูกมองดูจากทีมงานว่าเป็นคนช่างฝันและไม่ติดดินและมักเปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้ความสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆ ดูจะมีความหนักแน่นและเป็นที่เชื่อถือในทีมงานน้อย หลังจากวิเคราะห์ความถนัดแล้วทำให้มีแนวความคิดในการปรับปรุง 2 ทางคือทางแรกจะเลือกที่จะพัฒนาให้มีการลงรายละเอียดของความคิดของการสื่อสารให้เกิดภาพนิ่งและลงราลละเอียดในทางปฏิบัติแล้วจึงถ่ายทอด กับทางเลือกที่สองก็คือหาคนรู้ใจที่สามารถมาต่อท่อความคิดเพื่อลงรายละเอียดในแนวปฎิบิติ ผู้บริหารเลือกทางเลือกที่สองก็คือหาคนรู้ใจมาเป็นมือขวาเพื่อให้มือขวาย่อยความคิดและสื่อสารในระดับรายละเอียดแก่ทีมงานแทนเนื่องจากว่าผู้บริหารท่านนี้สนุกในการสร้างสรรค์และไม่ต้องการหยุดความคิดเพื่อลงรายละเอียดที่ตัวเองไม่ถนัดในการเลือกกลยุทธ์นี้จำเป็นที่จะต้องเลือกมือขวาที่มีความสัมพันธ์เข้ากันได้ดีตลอดจนมีแนวทางการสื่อสารที่เข้ากันได้รวมทั้งมือขวาคนนี้ต้องต่อท่อความคิดลงไประดับล่างได้ด้วย ผู้เขียนเองเข้ามามีส่วนร่วมในเลือกสรร ค้นหาและสัมภาษณ์ผู้ที่สามารถเป็นมือขวาของผู้บริหารตลอดจนยังเป็นผู้สร้างการประสานสัมพันธ์ให้แน่นเหนียวเกิดขึ้นซึ่วเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะเมื่อท่อทางใจเกิดขึ้นแล้วทำให้ชีวิตของผู้บริหารเป็นตัวของตัวเองและมีประสิทธ์ภาพในการสื่อสารมากขึ้น แต่สำหรับบางท่านอาจจะเลือกทางเลือกที่หนึ่งนั่นก็คือคิดย่อยลงไปในรายละเอียดและหาแนวปฎิบัติก่อนที่จะสื่อสารแต่การพัฒนาแนวความคิดตรงนี้ต้องใช้หลักการต่อไปเพื่อช่วยบริหารให้เกิดขึ้นนั่นก็คือ

          M-Master the EI (Emotional Intelligence) (ความสามารถในการบริหารอารมณ์)  เมื่อเรารู้จักตัวเองแล้วสิ่งที่สำคัญต่อมาก็คือเราต้องรู้จักข้อจำกัดและสถานะการณ์ที่ทำให้เราเกิดความเครียดหรือความกดดันที่ทำให้เรามักจะทำสิ่งที่เกิดอารมณ์และความโกรธขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวและทำให้ความสัมพันธ์นั้นแย่ลง ถ้าสังเกตุดูให้ดีถึงความต่างของความถนัดเชิงอัจฉริยภาพของคนเรานั้นถ้าเราเป็นคนที่ชอบเป็นนักปฏิบัติเราต้องการการสื่อสารและข้อมูลที่มีรายละเอียดเพื่อสร้างความมั่นใจในการทำบางครั้งอาจจะต้องเกิน 95% ขึ้นไปถึงจะเกิดความมั่นใจ แต่ถ้าเกิดเรามีหัวหน้าที่ชอบเสี่ยงและมีความยืดหยุ่นสูงเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจข้อจำกัดว่า ผู้ชอบเสี่ยงและยืดหยุ่นสูงนั้นจะไม่ชอบลงรายละเอียดในแกนที่เราต้องการแต่จะผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้ไปสู่มิติใหม่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเวลาเราจะต้องสร้างสัมพันธ์ภาพและการสื่อสารในอีกมิติหนึ่งเราจะต้องพิจารณาข้อจำกัดของทั้งสองฝ่ายเพื่อลดความกดดันและสามารถบริหารอารมณ์ไม่ให้เจอมุมอับมิฉะนั้นอาจจะฟิวส์ขาดได้ง่ายดังนั้นหลักการต่อไปจำเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นมานั่นก็คือ

          I-Innovation (หาทางเลือกที่สร้างสรรค์ในการสร้างความสัมพันธ์)  ถ้าเราต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวเราจำเป็นต้องสร้างให้เกิดประโยชน์ที่เกื้อกูลกันทั้งสองฝ่าย (win-win)แต่การที่จะทำอย่างนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสามารถเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของทั้งสองฝ่ายอย่างลึกซึ้งเพราะถ้าเราไม่เข้าใจและมิได้พิเคราะห์ให้ดีว่าใจเขาต้องการอะไร เราก็จะเอาใจเราเป็นที่ตั้งแล้วพยายามให้เขาเอนเอียงมาทางเรา เราอาจจะได้สิ่งที่เราต้องการแต่ความสัมพันธ์ในอีกฝั่งหนึ่งจะรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบและทำให้ความรู้สึกที่จะสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวจะไม่เกิดขึ้น หลักการนี้เราจำเป็นต้องเปิดใจรับฟังในขณะเดียวกันก็ต้องก็ต้องสามารถคิดหาทางเลือกใหม่ๆเพื่อที่จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเดิม ถ้าเราแคร์ความสำคัญมากพอๆ กับการประสานพลัง การหยุดคิดเพื่อหาทางเลือกที่สร้างสรรค์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการฝึกฝนและนั่นทำให้หลักการต่อไปมีความสำคัญเป็นอย่างมากนั่นก็คือ

          L-Learning (เรียนรู้และพัฒนาทักษะ)  การเรียนรู้พัฒนาทักษะที่สำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ สิ่งแรกที่ต้องเพิ่มทักษะก็คือการคิดอย่างเป็นระบบก่อนที่เราจะสื่อสารออกไปเพราะถ้าเราไม่สื่ออย่างเป็นระบบแล้วความนิ่งของการกระทำก็จะไม่เกิดขึ้นจะทำให้เรากลายเป็นคนคิดอย่าง พูดอย่าง ทำอย่างซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญมาก ต่อมาก็คือทักษะในการสื่อสารที่มีประสิทธิ์ภาพนั่นก็คือต้องรู้จัก ฟังและต้องรู้จักนำเสนอให้ตรงกับใจของผู้ที่เราจะสื่อด้วยเพราะเมื่อความคิดเรานิ่งแล้ว เราต้องรับฟังความคิดของผู้อื่นด้วยใจไม่ใช่เฉพาะคำพูดจากนั้นจำเป็นที่จะต้องโยงใยสิ่งที่เราต้องการสื่อออกมาอย่างน่าฟังตลอดจนทักษะที่สำคัญอีกอย่างก็คือการหาทางเลือกใหม่ๆ และการสร้างสรรค์จิตนาการที่ทำให้เราไม่ยึดติดกับแนวคิดเดิมๆ ทำให้การหาทางออกเพื่อรักษาสัมพันธ์นั้นไม่เกิดขึ้น นอกหนือจากนั้นแล้วสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์งอกเงยและยืนยงก็คือ

          E-Empower (สร้างความสัมพันธ์ให้เจริญงอกงาม)   การสร้างให้ความสัมพันธ์เจริญงอกงามนั้นเราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับคนที่เราต้องการสร้างสัมพันธ์ที่ดี ถ้าเราเปรียบเทียบความสัมพันธ์กับบัญชีธนาคารที่มีการฝากและการถอนนั้น เราจะมีบัญชีพื้นฐานของความสัมพันธที่เรียกว่าบัญชีแห่งการประสานสัมพันธ์ ถ้าเรามีความสัมพันธ์ที่ดี บัญชีเราก็จะเป็นบวกมาก แต่ถ้าเรามีความสัมพันธืที่ไม่ดีเราอาจะมีบัญชีติดลบหรือตัวแดงขึ้นมา ไม่ว่าเราจะมีตัวแดงหรือตัวดำเราจำเป็นต้องลดน้ำใส่ปุ๋ยเพื่อให้ความสัมพันธ์นั้นงอกงามขึ้น การกระทำของเราไม่ว่าจะเป็นคำพูดและการกระทำล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เป็นในทางบวกและทางลบกับบัญชีแห่งการประสานสัมพันธ์ทั้งสิ้น ในยุควิกฤตเศรษฐกิจนี้ถ้าบัญชีแห่งการประสานสัมพันธ์กับคู่ค้าคนสำคัญของเราเป็นบวกมากๆการช่วยเหลือการหาทางเลือกเพื่อสานประโยชน์ให้เกิดขึ้นทั้งสองฝ่ายเพราะฉะนั้นการปรับตัวในการบริหารความอยู่รอดจะทำได้ง่าย แต่ถ้าบัญชีนี้เป็นตัวแดงการสร้างทางเลือกที่ดีกว่าจำเป็นที่จะต้องมีการลดน้ำใส่ปุ๋ยเพื่อให้เกิดความเชื่อถือซึ่งกันและกันมิฉะนั้นความเครียดของการขัดแย้งนั้นจะทำให้ชีวิตในช่วงวิกฤตนี้ไม่น่าอภิรมย์นัก คำถามที่สำคัญในยุควิกฤตเศรษฐกิจนี้ก็คือคุณได้ลดน้ำใส่ปุ๋ยกับบัญชีแห่งการประสานสัมพันธ์ของบุคคลสำคัญของคุณไม่ว่าในครอบครัว เพื่อน และเพื่อนร่วมสังคมหรือยัง 



 
โดย อาจารย์กฤษณ์ รุยาพร  E-mail : kris@e-apic.com, Mobile 081-617-7785 
บทความได้รับการเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์


Home    l    About Us    l    Education Program    l    Consulting    l    Clients    l    Online Test
Books & Multi    l    Apic Leadership Review    l    Contact Us