รากแก้วความสุข Grass Root of Authentic Happiness
[Date : 4 June 2022 ]
 
Talent iceberg of Leadership
[Date : 21 June 2022 ]
 
Unlock Leadership Potential(1)
[Date : 10 May 2022 ]
 
ความรวยหรือความสุข Mid Life Crisis ของผู้นำ (1)
 

 alt การเดินทางของชีวิตสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จในแต่ละช่วงเวลาเปรียบเสมือนการวิ่งมาราธอนที่เราจะต้องรู้จักประคองความเร็วให้เหมาะสมกับระดับสมดุลของศักยภาพและพลังชีวิตที่มีอยู่ในตัวเรา
    ถ้าเราใช้พลังชีวิตในช่วงต้นๆเหมือนกับการวิ่งแข่งขัน 100 เมตรหลายครั้งเมื่ออายุย่างเข้า 30 ปี แม้จะประสบความสำเร็จในตอนต้นแต่ความรู้สึกหมดพลังชีวิต หมดความสนุกและจะเกิดอาการที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Burn-out อย่างรวดเร็ว
    ผู้บริหารระดับสูงท่านหนึ่งที่ผู้เขียนมีโอกาสเป็นที่ปรึกษาตลอด  5  ปีที่ผ่านมาได้เชิญผู้เขียนเข้าไปช่วยสะท้อนมุมมองของเส้นทางเดินในการประสบความสำเร็จตอนช่วงอายุ  30 ปี ผู้บริหารท่านนี้นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯทำให้มีเงินสดในมือมากกว่า  300 ล้าน
บาท สร้างบ้านใหม่ริมสนามกอล์ฟ ถอยรถ BMW สปอร์ตคันงามที่เคยใฝ่ฝันในอดีต
    ทุกอย่างดูเหมือนเป็นเส้นทางที่สวยงามที่น่าอิจฉาสำหรับคนอายุ 30 ปีแต่ผู้บริหารท่านนี้เล่าต่อไปว่าในขณะที่ได้ทุกสิ่งที่ตัวเองตั้งเป้าหมายของความสำเร็จ คุณหมอประจำตัวกลับสั่งห้ามทำงานเพราะระดับความดันขึ้นสูงจนน่ากลัวทุกครั้งที่เข้าประชุมก็คือเกินระดับ 200 คุณหมอให้ข้อคิดในอีกมุมมองหนึ่งว่าถ้าคุณอยากใช้ช่วงเวลาที่เหลือเสี่ยงกับเส้นเลือดในสมองแตกและอยู่แบบคนอัมพาต อัมพฤกษ์ก็จงทำงานต่อไป อาการเหล่านี้เป็นอาการเสียสมดุลทางวุฒิภาวะหรือที่เราเรียกว่า Maturity Sickness 
    ในการสร้างดุลยภาพของการเดินทางจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจอุปนิสัยพื้นฐาน (Innate Drive) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำกับพฤติกรรมของการใช้ชีวิตและการขับอัจฉริยภาพ ของอารมณ์บวกและอารมณ์ลบที่สะท้อนถึงกระบวนการบริหารพลังงานซึ่งเป็นบ่อเกิดของพลังชีวิตและภูมิต้านของร่างกาย ถ้างานและสิ่งแวดล้อมเกื้อกูลและสนับสนุนเป็นเสมือนลมส่งท้ายก็จะเกิดพลังบวกทำให้เกิดความชอบและรักในการใช้อัจฉริยภาพทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะที่ต้องการทั้งยังสามารถสะกิดพลังชีวิตที่ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานและเกิดรอยยิ้มในการเดินทางตลอดเวลา
    กระบวนการปรับเปลี่ยน Maturity Sickness ให้กลายเป็น Maturity Fitness หรือ ความแข็งแกร่งในการพัฒนาวุฒิภาวะผู้นำแบ่งได้เป็น 3 Phases ก็คือ     
*Phase ที่ 1 Assessing และ Awakening
    การค้นหาและวัด Maturity Fitness โดยใช้แบบสอบภาม MIP เพื่อค้นหาต่อมสุขใจที่เป็นเสมือนขุมพลังชีวิตที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในและสะกิดยักษ์หลับให้ตื่นโดยใช้กระบวนการผจญภัยแบบ Outdoor เพื่อสร้างความเชื่อและความศรัทธาในการปลดปล่อยศักยภาพโดยผ่าน APIC S-M-A-R-T Leadership Methodology โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้บริหารเป็นศูนย์กลาง ผู้บริหารท่านนี้ได้เลือกการปีนเขาเป็นกิจกรรมเพื่อสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของวุฒิภาวะของผู้นำและความไม่สมดุลทางด้านสุขภาพซึ่งอาจเกิดจากความเครียดและการใช้ปัญญาไม่เหมาะสมกับอุปนิสัยพื้นฐาน
    ผู้บริหารท่านนี้สะท้อนตัวตนที่ได้จากแบบสอบถามในพฤติกรรมปีนเขาได้อย่างน่าสนใจ เขาจะมีพลังขึ้นมาทันทีที่ได้มองมุมมองใหม่ๆของการเดินทางโดยเฉพาะการถ่ายรูป การสร้างสรรค์มุมมองใหม่จากการสัมผัสความงามของธรรมชาติและการสร้างแรงบันดาลใจและการสื่อสารที่ทำให้ผู้ร่วมเดินทางมีความสุข
    แต่ในขณะเดียวกันเมื่อการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาระหว่างความเหน็ดเหนื่อยในการผจญภัยด้วยกันจะเห็นได้ชัดว่าความเครียดและความดันจะขึ้นสูงได้เร็วมากซึ่งเป็นการยืนยันสะท้อนจากแบบสอบถาม MIP เช่นกันว่า ถ้าต่อมสุขใจทำงานจะส่งผลให้เกิดอารมณ์บวกในการเดินทางแต่ถ้าต่อมเครียดทำงานอารมณ์ลบจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
    ผู้เขียนได้วางรูปแบบกิจกรรมเพื่อนำเอาจุดเด่นของผู้บริหารท่านนี้ในด้านการมองภาพรวมและการสื่อสารมาใช้เพื่อสะกิดและปลุกพลังชีวิตที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในและยังสร้างอารมณ์บวกในการเดินทาง การใช้แรงกายอย่างเดียวบางครั้งไม่เพียงพอกับการพิชิตยอดเขาแต่ต้องผสมผสานการบริหารปัญญาและอารมณ์เพื่อสร้างความกล้า ความสนุกและความสุขในแต่ละช่วงของการผจญภัย
    ครึ่งหลังของเส้นทางสู่ยอดเขาเมื่อผู้เขียนสะกิดศักยภาพของยักษ์หลับของผู้บริหารท่านนี้ ทีมงานที่เดินทางไปด้วยต่างสะท้อนเป็นเสียงเดียวกันว่ามีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะจากผู้บริหารท่านนี้มากขึ้น มีพลังในการเดินทางโดยไม่เหน็ดเหนื่อยและเมื่อวัดความดันในจุดต่างๆตลอดระยะทาง กลับไม่สูงถึงขีดอันตรายอย่างที่เคยเป็น เมื่อผู้บริหารสามารถใช้ศักยภาพได้เป็นหนึ่งเดียวกับขุนเขาจะทำให้เกิดดุลยภาพทั้งในด้านอารมณ์ สติปัญญาและสร้างสาร Endorphin (สารแห่งความสุข)  ที่ทำให้เราไปถึงเป้าหมายแบบไม่เหน็ดเหนื่อย
    ในคราวหน้าเราคงมาดูรายละเอียดของ Phase ที่ 2 และ 3 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการวางพิมพ์เขียวและปรับเปลี่ยนอุปนิสัยใหม่ของผู้นำให้เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการสร้างวุฒิภาวะให้แข็งแกร่ง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,016 

  โดย อาจารย์กฤษณ์ รุยาพร E-mail : kris@e-apic.com, Mobile 081-617-7785 


Home    l    About Us    l    Education Program    l    Consulting    l    Clients    l    Online Test
Books & Multi    l    Apic Leadership Review    l    Contact Us