รากแก้วความสุข Grass Root of Authentic Happiness
[Date : 4 June 2022 ]
 
Talent iceberg of Leadership
[Date : 21 June 2022 ]
 
Unlock Leadership Potential(1)
[Date : 10 May 2022 ]
 
พลังแห่งการสื่อสารของผู้นำ
 

 การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวขอaltงความคิด คำพูดและการกระทำเป็นกระบวนการประสานพลังในการสื่อสารที่สำคัญของผู้นำเพราะถ้าผู้นำคิดไปทางหนึ่ง พูดไปอย่างหนึ่งและกระทำไปอีกทางหนึ่ง จะสร้างความยากลำบากและความสับสนในการสื่อสารเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่จะเดินตาม
    หลักการในการสร้างพลังแห่งการสื่อสารที่เรียกว่า P-O-W-E-R นั่นก็คือ
    1. เป้าหมายของการสื่อสาร (P-Purpose) สิ่งแรกที่สำคัญในการสร้างพลังในการสื่อสารก็คือเป้าหมายที่ชัดเจนว่าสื่อสารไปเพื่ออะไร อะไรคือสิ่งที่ฉันอยากได้ อะไรคือสิ่งที่อยากให้ผู้ฟังทำหลังจากสื่อสารเสร็จ เพราะถ้าเป้าหมายไม่ชัดเจน พลังของความคิดที่จะดึงเอาเรื่องราวและข้อมูลที่จะมาสื่อสารก็จะไม่ชัดตามไปด้วย หลายคนสื่อสารด้วยข้อมูลที่เยอะมากแต่หาแก่นในการโน้มน้าวจิตใจไม่ได้
    2. คิดอย่างเป็นระบบ (O-Organize thinking) เมื่อเป้าหมายชัดว่าเราจะสื่อสารไปเพื่ออะไรจะทำให้เรามองเห็นเป้าหมายในการโน้มน้าวจิตใจชัดเจน สิ่งที่สำคัญต่อมาก็คือแก่นของการเรียบเรียงเนื้อหาในการสื่อสารก็ต้องมีความคิดอย่างเป็นระบบเพราะถ้าคิดไม่คมชัด เราก็จะเกิดความวกวนในการสื่อสาร
    หลายครั้งการศึกษาบ้านเราไม่ได้เน้นวิชาย่อความมากมายนัก แต่จริงๆ แล้ววิชานี้เป็นหัวใจหลักในการสร้างสรรค์การตกผลึกทางความคิด การย่อความเก่งจากข้อมูลที่หลายหลายและสามารถประมวลให้เกิดเป็น 3 แก่นหลักในการสื่อสาร (Bullet of 3) จะทำให้สมองซีกซ้ายของเราสามารถจำได้ง่ายในขณะเดียวกันสมองของผู้ฟังก็สามารถจะจำและเรียบเรียงเอาคำพูดของเราออกมาจากหน่วยความจำได้ง่ายเช่นเดียวกัน
    3. รู้จักผู้ฟังและประโยชน์ที่เขาจะได้รับ (W-Win-Win Audience)เมื่อความคิดชัดอย่างเป็นระบบ เราก็จะพร้อมที่จะสื่อสารความคิดของเราออกไป เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจผู้ฟังว่าเป็นคนประเภทไหน ชอบฟังการสื่อสารในรูปแบบใดและสิ่งที่เราจะสื่อสารออกไปจะทำให้เขาได้ประโยชน์อะไร เพราะถ้าเราเข้าใจเขาดีกว่าเขาเข้าใจตัวเองเราก็จะสื่อสารเข้าไปทั้งในสมองและหัวใจเข้าได้ง่าย ยิ่งประโยชน์ที่เขาได้รับและสิ่งที่เราจะได้รับได้รับประโยชน์สามารถประสานและเกื้อกูลกันได้แล้วหละก็ พลังของการโน้มน้าวความคิดก็จะเปิดกว้างในการยอมรับความคิดใหม่ๆ
    4. โยงรูปแบบการสื่อสารอย่างรู้ใจ (Engage head and heart)เมื่อเราเข้าใจผู้ฟังและเราตกผลึกในเนื้อความคิดและเรื่องราวที่จะสื่อสาร การโยงใยรูปแบบการสื่อสารให้เข้าไปในสมองและจิตใจของผู้ฟังเป็นศิลปะที่สำคัญ ผู้เขียนมักจะโยงใยรูปแบบการสื่อสารด้วยการเข้าใจความถนัดเชิงอัจฉริยภาพของผู้ฟัง ถ้าเราเป็นนักจินตนาการ การสร้างอุปมาอุปมัยเป็นแรงกระตุ้นในความสนใจ แต่ถ้าเป็นนักวิเคราะห์ ตัวเลข ข้อมูล เป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์สนใจ สำหรับนักปฏิบัติแล้วหละก็รายละเอียดของการลงมือทำจะทำให้เขาหูผึ่ง ในขณะที่นักประสาน ความรู้สึกทางใจจะเป็นตัวโยงใยที่มีประสิทธิ์ภาพ
    5. สรุปประเด็นด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง (Recap with action)สิ่งที่นักสื่อสารที่ดีไม่ลืมก็คือต้องสรุปประเด็นเพื่อให้เกิดรอยสักในสมองของผู้ฟังและสามารถจดจำด้วยการกระทำเป็นตัวอย่างหรือไม่ลืมยกตัวอย่างเรื่องราวจริงๆ ที่สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาที่ทำให้แนวคิดเป็นรูปธรรม ดังคำพูดที่ว่า Action speaks louder than word หรือ การกระทำสื่อสารได้ชัดเจนกว่าคำพูด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,964 

                      โดย อาจารย์กฤษณ์ รุยาพร E-mail : kris@e-apic.com, Mobile 081-617-7785


Home    l    About Us    l    Education Program    l    Consulting    l    Clients    l    Online Test
Books & Multi    l    Apic Leadership Review    l    Contact Us