รากแก้วความสุข Grass Root of Authentic Happiness
[Date : 4 June 2022 ]
 
Talent iceberg of Leadership
[Date : 21 June 2022 ]
 
Unlock Leadership Potential(1)
[Date : 10 May 2022 ]
 
กลยุทธ์การบริหารดุลยภาพของศักยภาพและโอกาส
 

พิมพ์
altศักยภาพและโอกาส อันไหนสำคัญกว่ากัน หลายคนมีคำถามกับผู้เขียนว่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จนั้นมีการบริหารดุลภาพนี้อย่างไร ทำไมผู้นำหลายท่านจึงมีโอกาสวิ่งเข้ามาในชีวิตอยู่เสมอ  อะไรที่ทำให้ผู้นำเหล่านั้นสามารถบริหารความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพและโอกาสอย่างลงตัว
    ผู้เขียนมักจะใช้ตารางการบริหารดุลภาพของศักยภาพและโอกาสเพื่อช่วยองค์กรชั้นนำวางแผนในการพัฒนาทีมของผู้นำ การรู้จักความเก่งในระดับจิตสำนึกและรู้จักระดับแรงขับจากอารมณ์ที่เกิดจากจิตใต้สำนึกเป็นกลยุทธ์ที่ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมักจะใช้ในการบริหารดุลยภาพระหว่างศักยภาพและโอกาสได้อย่างลงตัว โดยจะมีกลยุทธ์ในแบบต่างๆ ดังในตารางข้างล่างนี้
    แบบที่ 1 มุ่งมั่นพัฒนา ถ้าระดับอารมณ์จากใจเป็นบวก ระดับความเก่งจากสมองสูง งานให้ความสำคัญสูงนั่นก็คือโอกาสรอให้เราบริหารและเราก็มีความพร้อมทั้งสมองและจิตใจ กลยุทธ์ของผู้นำมักจะม่งมั่นพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ เมื่อดุลยภาพของผู้นำอยู่ในแบบที่ 1 นี้เขาจะทำงานอย่างสนุก ลืมวันลืมคืนและจะมีผลลัพธ์ออกมาให้เห็นอย่างมากมาย ผู้นำจะได้ใช้ความเป็นธรรมชาติของการประสานจิตใต้สำนึกและจิตสำนึกบริหารโอกาสให้เกิดเป็นผลของงานอย่างลงตัว
alt    แบบที่ 2 แสวงหาโอกาส แบบที่สองนี้ แรงขับทางอารมณ์เป็นบวก มีระดับความเก่งสูงพร้อมที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างมากมาย ทั้งสมองและหัวใจพร้อม ถ้าเขาสามารถแสวงหาโอกาสเพื่อปลดปล่อยความสามารถออกมาเป็นที่ประจักษ์ก็จะส่งผลงานออกมามากมาย ดั่งคำที่ว่า "ถ้ารู้ว่าตัวเองเก่งก็ต้องบริหารความเฮงของโอกาสให้เป็น"
    แบบที่ 3 ฝึกฝนทักษะ แบบที่ 3 นี้ แรงขับจากจิตใต้สำนึกส่งอารมณ์บวกในการแสวงหาทักษะเพื่อที่จะสามารถบริหารโอกาสที่มีอยู่ ความเฮงของโอกาสนั้นรออยู่แต่เราต้องเพิ่มระดับความเก่งด้วยการฝึกฝนทักษะเพื่อสามารถจับโอกาสของความเฮงให้อยู่มือและแสดงความสามารถให้ผลลัพธ์ปรากฎ บางครั้งถ้าเราไม่หมั่นฝึกฝนทักษะ แม้จะมีความเฮงแต่ถ้าเราไม่เก่งเราก็อาจจะไม่สามารถเก็บมันไว้ได้  การเร่งพัฒนาทักษะที่เหมาะสมจะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ
    แบบที่ 4 สร้างตัวแทน แบบที่ 4 นี้ แม้จะมีความเก่งในระดับสูง โอกาสก็รออยู่เสมอแต่ที่ขาดก็คือแรงขับจากหัวใจนั้นต่ำ เข้าข่ายทุกข์ลาภ ยิ่งแสวงหาโอกาสเข้ามามากด้วยความเก่งที่มีอยู่แต่หัวใจไม่แช่มชื่น ถ้าทำมากเกินไปก็จะเกิดอาการ Burn-Out ได้ กลยุทธ์ที่จะมารองรับคือต้องหาตัวตายตัวแทนที่มีแรงขับทางอารมณ์มาเป็นมือขวามือซ้ายและเราช่วย coach ให้เกิดทักษะขึ้นมา เราก็จะสามารถที่จะประสานความเก่งอย่างเกื้อกูลกัน หลายองค์กรลืมมองแรงขับจากหัวใจทำให้ต้องเสียคนเก่งในองค์กรไปอย่างน่าเสียดาย
    แบบที่ 5 Outsource/Partner แบบที่ 5 นี้แรงขับจากใจต่ำ ความเก่งก็น้อย แต่ความต้องการในงานสูงนั่นคือโอกาสรออยู่ ถ้าเราดื้อทำไปเราก็ไม่สามารถจะบริหารโอกาสเข้ามาได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ทางที่ดีเราควรจะมองหา คู่ค้าหรือพันธมิตรที่ทั้งชอบและเก่งเข้ามาช่วยจะทำให้เราสามารถจะสร้างวงจรเกื้อกูลกันได้ ถ้าเรามองแบบใจกว้างเราสามารถจะพันธมิตรที่ถูกต้องไปบริหารโอกาสที่วิ่งเข้ามาได้เสมอ
    ถ้าเราประเมินระดับของอารมณ์และความเก่งจากหัวใจและสมองของทีมผู้นำในองค์กรเราได้อย่างชัดเจน เราก็สามารถจะเลือกใช้กลยุทธ์ที่จะส่งเสริมให้ทีมงานของเราบริหารศักยภาพและโอกาสได้อย่างลงตัว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,962 

โดย อาจารย์กฤษณ์ รุยาพร E-mail : kris@e-apic.com, Mobile 081-617-7785



Home    l    About Us    l    Education Program    l    Consulting    l    Clients    l    Online Test
Books & Multi    l    Apic Leadership Review    l    Contact Us