รากแก้วความสุข Grass Root of Authentic Happiness
[Date : 4 June 2022 ]
 
Talent iceberg of Leadership
[Date : 21 June 2022 ]
 
Unlock Leadership Potential(1)
[Date : 10 May 2022 ]
 
Creating Shared Value Organization (1) องค์กรร่วมสร้างสรรค์คุณค่า
 

Creating Shared Value Organization (1)
องค์กรร่วมสร้างสรรค์คุณค่า 



        ปัจจุบันนี้เราคงเคยได้ยินคำว่า  CSR หรือ Corporate Social responsibility ความรับผิดชอบที่องค์กรมีต่อสังคมซึ่งเป็นกระแสที่เกิดขึ้นกับองค์กรชั้นนำทั้งหลายที่ต่างหันกลับมาบริจาคเงินและร่วมทำสิ่งดีๆ ให้กับสังคม แต่หลายองค์กรชั้นนำกลับหันมาเริ่มต้นมองใหม่ตั้งแต่ต้นนำ้ไม่ใช่ปลายทางด้วยการวางกลยุทธ์เพื่อร่วมสร้างสรรค์คุณค่าที่ประสานความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจกับความต้องการของสังคมร่วมกันหรือที่เรียกกันว่า  CSV หรือ Creating Shared Value
เมื่อบริษัทมุ่งหน้าแสวงหากำไรโดยมิได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมทำให้เราเริ่มทำลายโลกใบนี้ทีละน้อยโดยไม่รู้ตัวและก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่างๆมากมายทำให้องค์กรต้องหันกลับมาแก้ด้วยการต้องหันกลับมาสร้างจิตสำนึกที่มาช่วยสังคมที่ปลายทางหลังจากที่เราทำลายจากทั้งไม่รู้และรู้เท่าทัน
        เราคงเห็นอาการต่างๆ ของโลกเช่นมลพิษต่างๆทางอากาศ ทางอาหารการกิน ทางนำ้ดื่ม มลพิษทางความเครียดที่ทำให้ทางสุขภาพของคนทำงานเกิดโรคของมนุษย์เงินเดือนไม่ว่าจะเป็นความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ การทำให้โลกร้อนด้วยการเผาทรัพยากรธรรมชาติจนองค์กรภาคธุรกิจกลายเป็นผู้ร้ายที่ทำลายโลกและไม่แคร์สังคมที่อยู่ล้อมรอบ ทำให้สังคมเริ่มบีบให้องค์กรต้อง  เพื่อตอบสนองผลลัพธ์เหล่านี้และกลายเป็นต้นทุนในการทำธุรกิจ
ถ้าเรามองความต่างระหว่าง CSR  และ CSV ก็คือ องค์กรมักจะมอง CSR เป็น Reactive  ก็คือเป็นกระบวนการตอบสนองกับอิทธืพลของผลกระทบที่เกิดจากภายนอกที่เป็นแรงกดดันให้เราต้องทำความดีด้วยการรับผิดชอบต่อสังคมที่เราอยู่และตั้งเป็นงบประมาณในการช่วยหลือในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินที่บริจาคหรือการตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือสังคม 
ในขณะที่  CSV  จะเริ่มต้นจากจิตสำนึกของจิตวิญญาณที่เกิดจากภายในด้วยการเริ่มต้นประสานกลยุทธ์ในการทำธุรกิจด้วยเป้าหมายผลลัพธ์ทางธุรกิจ (Economic needs) โดยเฉพาะทางการเงินกับความต้องการทางสังคม (Social needs)  ในอดีตหลายองค์กรมองว่าเราต้องเลือกจะเอาทางธุรกิจเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดหรือไม่ก็ต้องเป็นองค์กรการกุศล 
แต่องค์กรชั้นนำหลายองค์กรได้สร้างกลยุทธ์เชิงนวัตกรรมในการผสมผสานเพื่อด้วยการสร้างคุณค่าทางธุรกิจจากการสร้างคุณค่าให้กับสังคม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรชั้นนำ GE, Google, IBM, Intel, Johnson & Johnson, Nestle, Unilever และ  Wal-Mart เป็นต้น ต่างหันกลับมามองการสร้าง CSV Organization เป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนทั้งยังสร้างการเติบโตในลูกค้ากลุ่มใหม่ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและทำผลตอบแทนทางธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
กลุ่มลูกค้าชั้นนำในเมืองไทยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกลับผู้เขียนถึงการนำแนวคิดทางด้าน CSV นี้เข้ามาปรับสมดุลย์ใหม่เริ่มตั้งแต่การวางนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ในการสร้างสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ การเพิ่มผลผลิตในกระบวนการทำงาน และการเพิ่มความสามารถในการสร้างคุณค่าร่วมกันกับพันธมิตรคนสำคัญ
กูรูทางการวางกลยุทธ์อย่างเช่น ไมเคิล อี พอตเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “องค์กรในระบบ Capitalism หรือระบบทุนนิยมถูกมองว่าเป็นต้นตอของปัญหาที่สร้างภัยคุกคามให้แก่โลกใบนี้และสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องหันกลับมามองในมุมมองที่กว้างขึ้นแทนที่จะเป็นการ Trade off คือฝ่านหนึ่งได้ฝ่ายหนึ่งเสียให้เกิดกรอบความคิดในการผสมผสานในการประสานประโยชน์  Win-Win  ด้วยกันทั้งสองฝ่ายที่ธุรกิจก็มีผลกำไรจากการสร้างคุณค่าดีๆ แก่สังคม”
จากมุมมองในการประสานประโยชน์ร่วมกัน องค์กรจำเป็นต้องหันกลับมามองกระบวนการตัดสินใจที่เกิดจากค่านิยมขององค์กรและโอกาสที่เกิดขึ้นจากการสร้างคุณค่าร่วมกัน (Shared Value) ซึ่งจะนำมาถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆและการเจริญเติบโตขององค์กรเพื่อสร้างคุณค่าและประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่แก่สังคม
        ผู้นำองค์กรที่ร่วมสร้างสรรค์คุณค่าทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่เพียงแค่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว แต่ยังมุ่งเพิ่มเติมคุณค่าให้ทั้งต่อผู้ถือหุ้น คุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กร ชุมชนผู้บริโภคและสังคมโดยรวม โดยไม่ได้มองแค่การบริจาคหรือกิจกรรมที่ทำควาามดีต่างๆเท่านั้น แต่เป็นการปฎิบัติเพื่อประสานประโยชน์อย่างแท้จริง
ในบทความคราวหน้าเราจะเจาะลึกถึงกระบวนการในการเริ่มต้นสร้างแนวความคิดของ  CSV และตัวอย่าง Best Practices เริ่มจากจิตใต้สำนึกของการประสานประโยชน์โดยรวมของผู้นำองค์กรและทีมงานผู้บริหารเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนที่อยู่ใต้นำ้ที่สำคัญ แนวทางในการวางนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ การสร้างการพัฒนา  Value Chain ในรูปแบบของการประสานพลังในรูปแบบใหม่ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อสร้างคุณค่ากับ  Stake Holder นับจากผู้ถือหุ้นไปจนกระทั่งเครือข่ายธุรกิจและสังคมที่จะมีทั้งความสำเร็จและความสุขร่วมกัน



โดย อาจารย์กฤษณ์ รุยาพร E-mail : kris@e-apic.com, Mobile 081-617-7785 บทความได้รับการเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์


Home    l    About Us    l    Education Program    l    Consulting    l    Clients    l    Online Test
Books & Multi    l    Apic Leadership Review    l    Contact Us