รากแก้วความสุข Grass Root of Authentic Happiness
[Date : 4 June 2022 ]
 
Talent iceberg of Leadership
[Date : 21 June 2022 ]
 
Unlock Leadership Potential(1)
[Date : 10 May 2022 ]
 
พลังแห่งสติเพื่อสร้างผู้นำแห่งรอยยิ้มฝ่าวิกฤต
 

พลังแห่งสติเพ่ือสร้างผู้นำแห่งรอยยิ้มฝ่่าวิกฤต



        ความเครียดแและความทุกข์ของคนทำงานจะทวีคูณขึ้นอย่างรวดเร็วถ้าเราต้องเผชิญหน้ากับความผันผวนของการเปลี่ยนแปลงที่เราไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ได้ว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต ตลอดจนการต้องต่อสู้กับการยึดติดกับตัวตนและความสำเร็จที่เกิดขึ้นในอดีตที่เคยหอมหวานแต่ต้องโดยพายุกระหนำ่ทำให้ไม่สามารถจะใช้สูตรสำเร็จเดิมในอนาคตได้
        ผู้เขียนเองได้รับเชิญให้ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างพลังแห่งสติในการปรับกรอบความคิดและมุมมองที่ของพนักงานทุกระดับเพื่อให้เท่าทันกับธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายจากภายนอกและสามารถบริหารรอยยิ้มและภาวะทางอารมณ์ที่ต้องปรับตัวเพื่ออยู่กับความผันผวนของการเปลี่ยนแปลง การสร้างสติเพื่อความระลึกและเข้าใจสภาวะอารมณ์ของแต่ละช่วงของการแปรเปลี่ยนเริ่มจาก

ช่วงที่ 1 ไม่รู้ระลึกรู้ว่าตัวเองว่าไม่รู้อะไร (Unconscious Incompetence)
        ช่วงนี้เป็นช่วงของสภาวะอารมณ์ที่หลายองค์กรมักจะเกิดการยึดติดกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นในอดีต ยิ่งองค์กรใดเติบโตอย่างก้าวกระโดดและไม่เคยผ่านร้อนผ่านหนาวในวัฎจักรของการเปลี่ยนแปลงจะเกิดความประมาทและลำพองในการยึดมั่นถือมั่นกับทางเดินที่เราคุ้นเคยและมักจะมีสภาวะอารมณ์ที่ปฎิเสธการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบๆตัวพร้อมทั้งยึดติดกับความรื่นรมย์ของผลที่เกิดขึ้นในอดีต  สภาวะทางอารมณ์นี้ถ้าผู้นำในองค์กรขาดสติในการนำพาองค์กรโดยมิได้สัมผัสกับข้อเท็จจริงของธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงมักจะอยู่ในสภาวะของการมีกรอบความคิดที่บัญชาการอยู่ในหอคอยงาช้างที่เต็มไปด้วยความฝันและจินตนาการถึงภาพของความสำเร็จในอนาคตที่โยงใยกับควาเก่งที่มีในอดีต
หลายท่านคงเคยได้ยินการทดลอง “กบร้อนกบเย็น”  ซึ่งเป็นการทดลองที่เห็นถึงธรรมชาติของการไม่มีสติเท่าทันการเปลี่ยนแปลงโดยนักวิทยาศาสตร์นำกบไปแช่ลงในหม้อที่มีนำ้อุณหภูมิสบายๆและเริ่มเพิ่มอุณหภูมิของนำ้ขึ้นที่ละองศาจนกระทั่งนำ้ร้อนปรากฎว่ากบในนำ้เย็นไม่สามารถสัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงได้ทันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ละน้อยและตายไปในที่สุด  ในขณะที่อีกการทดลองหนึ่งนำกบชนิดเติมแต่ใส่ลงในนำ้ที่ร้อนปรากฎว่ากบตระหนักถึงความร้อนและรีบกระโดดออกมาและรอดใต้ได้อย่างอัศจรรย์
        พลังแห่งสติในช่วงที่หนึ่งนี้จำเป็นที่ผู้นำองค์กรต้องสร้างความตระหนักให้ทีมงานในองค์กรเพื่อสัมผัสกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายนอกและทำให้มีจิตที่เท่าทันกับความเร็วของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งใกล้ตัวและไกลตัวในธุรกิจที่เหมือนและต่างจากเรา
        ผู้เขียนเคยสร้างโครงการให้ผู้บริการระดับสูงในองค์กรชั้นนำในประเทศไทยที่ต้องการก้าวเป็นผู้นำในเอซียตระหนักถึงสภาวะนี้ด้วยการตั้งโจทย์กับตัวเองว่าเราเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลงในเมืองไทยและในเอเซียหรือไม่  คู่แข่งเรานำเราหรือตามเราในการเท่าทันการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าคนสำคัญของเราเห็นเราเป็นผู้นำหรือเป็นผู้ตามกระแสการเปลี่ยนแปลง หลายครั้งเมื่อผู้บริหารได้ยินจากปากของลูกค้าคนสำคัญถึงความสามารถในการปรับตัวขององค์กรทำให้เกิดการกระชากกรอบความคิดเหมือนกบร้อนเพราะถ้าในประเทศไทยเราเป็นหนึ่งแต่ในระดับเอเซียจำเป็นต้องมีการพัฒนาการอีกมากและเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการมีสติในการเท่าทันการเปลี่ยนแปลงและสร้างการก้าวกระโดดเพื่อเข้าสู่ช่วงที่ 2 นั่นก็คือ

ช่วงที่ 2 :  รู้ตัวเองว่าไม่รู้อะไร (Conscious Incompetence)
        เมื่อผู้นำและทีมงานในองค์กรมีพลังแห่งสติที่ทำให้กรอบความคิดในการมองตนเองเปลี่ยนไปเริ่มมีสติหันกลับมามองว่าเรามีอะไรที่โดดเด่นแต่ในขณะเดียวกันก็มองเห็นช่องว่างทีเราต้องวางกลยุทธ์ในการพัฒนารวมทั้งมีสติเท่าทันความสามารถแฝงที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในที่ยังไม่ได้ขับเคลื่อนออกมาใช้  การใช้แบบสอบถามความถนัดเชิงอัจฉริยภาพ(Multi-Dimension  Intelligence Profile Assessment) เป็นจุดหมุนของการเปลี่ยนแปลงนเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่องดูมุมที่เรามีเอกกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนตลอดจนสร้างโมเมนตัมที่ผลักดันการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของช่องว่างของการไม่รู้อะไรของตนเองและองค์กร

ช่วงที่ 3 : มีความสามารถใหม่แต่ต้องมีสติกำกับ (Conscious Competence)
        เมื่อเราเริ่มมีสติกำกับในการพัฒนาช่องว่างที่เรามองเห็นโดยเฉพาะการดึงเองศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในในกลายเป็นความสามารถใหม่ ช่วงนี้การหล่อหลอมทักษะใหม นิสัยใหม่่ให้เกิดขึ้นจะต้องมีสติกำกับ
ถ้าผู้นำองค์กรเข้าใจสภาะวะอารมณ์ในช่วงนี้จำต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่จะมาเกื้อกูลพฤติกรรมใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นเปรียบเสมือนดักแด้ที่กระพือปีกในใยไหมที่เตรียมพร้อมจะกลายเป็นผีเสื้อตัวสวยงามในช่วงต่อไปก็คือ

ช่วงที่4 : มีความสามารถใหม่อย่างเป็นธรรมชาติ (Unconscious competence)
        การสร้างความสามารถใหม่ในจิตใต้สำนึกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างนิสัยใหม่ของพฤติกรรมใหม่ซำ้ๆ จนกลายเป็นนิสัยใหม่ นักกอล์ฟชื่อดัง ไทเกอร์ วูดส์กล่าวว่าการสร้างนิสัยใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปลี่ยนวงสวิงใหม่ของกอล์ฟนั่นจำต้องสร้างในระดับความจำของกล้ามเนื้อ (Muscle  Memory)  ให้เกิดขึ้นไม่เพียงในระดับจิตสำนึกที่มีสติกำกับแต่ต้องให้ฝังรากลึกในระดับจิตใต้สำนึกเพื่อสร้างสัญชาติญาณใหม่อย่างเป็นธรรมชาติ ถ้าผู้นำการเปลี่ยนแปลงเข้าใจพลังแห่งสติในแต่ละช่วงจะสามารถสร้างรอยยิ้มเพื่อบริหารความคาดหวังในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายใต้วิกฤตอย่างเป็นระบบและเท่าทัน




 
โดย อาจารย์กฤษณ์ รุยาพร  E-mail : kris@e-apic.com, Mobile 081-617-7785 
บทความได้รับการเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์


Home    l    About Us    l    Education Program    l    Consulting    l    Clients    l    Online Test
Books & Multi    l    Apic Leadership Review    l    Contact Us