รากแก้วความสุข Grass Root of Authentic Happiness
[Date : 4 June 2022 ]
 
Talent iceberg of Leadership
[Date : 21 June 2022 ]
 
Unlock Leadership Potential(1)
[Date : 10 May 2022 ]
 
วิกฤตคือโอกาสทองในการพัฒนาศักยภาพในการสร้างผู้นำ
 


วิกฤตคือโอกาสในการพัฒนาศักยภาพในการสร้างผู้นำ



        ปกติแล้วมนุษย์เราใช้ศักยภาพที่มีอยู่ตัวเราไม่ถึง 10% โดยฉพาะพลังของศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายใน แต่ภายใต้ภาวะวิกฤตถ้าเรามีสติและสามารถหยุดมองวิกฤตให้เป็นโอกาส เราจะได้เวทีในการปลดปล่อยดึงเอาศักยภาพความเป็นผู้นำที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวเราให้ฉายแสงออกมาทอง
        ผู้เขียนสอนอยู่ที่หลักสูตรปริญญาโท ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหลักสูตรผู้นำกับการนวัตกรรมในเปลี่ยนแปลงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับนิสิตถึงการสร้างวิถีทางเดินการสร้างภาวะผู้นำโดยมองกระบวนการพัฒนาการเป็น 3 ช่วงด้วยกันคือช่วงแรกคือช่วงการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำ ช่วงที่สองคือการเป็นผู้นำและช่วงสุดท้ายคือการให้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของการเป็นผู้นำในการสร้างผู้นำสายพันธุ์ใหม่กลับคืนสู่สังคม
        สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองที่มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาวุฒิภาวะของผู้บริหารรวมทั้งกระบวนการติดตามผลความก้าวหน้าของผู้นำในองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศกับประสบการณ์ของนิสิตที่เป็นมืออาชีพที่มีประสบการณ์แต่ต้องการศึกษาหาทฤษฎีเพิ่มเติมได้เห็นถึงความสำคัญของวิกฤตในชีวิตการก้าวเดินของผู้นำที่จะเป็นการสร้างนวัตกรรมในการสร้างการก้าวกระโดดของการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาศักยภาพการสร้างผู้นำ ถ้าเขาสามารถหยุดเรียนรู้และสร้างกลยุทธ์ในการต่อยอดการพัฒนาศักยภาพของการเป็นผู้นำที่เคยถุกซ่อนเร้นอยู่ภายใน
        Growing Pain คือการเติบโตภายใต้ความเจ็บปวดของวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่โถมเข้ามาสร้างเป็นเบ้าหลอมความแข็งแกร่งในชีวิตเป็นหัวข้อหนึ่งที่มีการแลกเปลี่ยนกันอย่างมากในการพัฒนาภาวะผู้นำ เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในช่วงแรกของชีวิตจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของเราทั้งในแง่บวกและแง่ลบในชีวิตและยังฝังเข้าไปในจิตใต้สำนึกของความเชื่อมั่นในการใช้ศักยภาพพื้นฐานที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน
        ผู้เขียนเคยพาทีมงานของผู้บริหารขององค์กรชั้นนำในเมืองไทยไปเยี่ยมชมแนวทางการบริหารของคุณเฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย General Manager ของบริษัท DHL ที่สิงคโปร์ คุณเฮอร์เบิตได้เล่าถึงประสบการณ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำตั้งแต่เด็กจนก้าวเป็นเบอร์หนึ่งของ DHL ในเมืองไทย ในอินโดจีนและปัจจุบันก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งในสิงคโปร์ว่า Mistake and learn หรือการเรียนรู้จากความผิดพลาดเป็นทักษะที่สำคัญของผู้นำที่ต้องมีเพราะถ้าเราเรียนรู้ มีความรับผิดชอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนและแนวนวัตกรรมของความคิดใหม่ๆในการหาคำตอบ เราก็สามารเรียนรู้พัฒนาและกระโดดก้าวขึ้นไปในอีกมิติของการเจริญเติบโต
        การก้าวข้ามวิกฤตของการเปลี่ยนแปลงนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงนั่นก็คือ C-H-A-N-G-E อันได้แก่
        1.  ช็อคในสภาวะวิกฤต (C-Crisis Shock) เมื่อวิกฤตมาถึงบางคนจะอยู่ในสภาวะอารมณ์ที่ตั้งตัวไม่ทันและทำให้สมองส่วนอารมณ์หรือที่เรียกว่า Limbic System ไม่สามารถรอบรับอารมณ์เครียดที่เกิดขึ้นได้ ผู้เขียนเคยเป็นที่ปรึกษาในกับผู้บริหารที่ถูกย้ายตำแหน่งโดดกระทันหันทำให้สภาวะความเครียดเกิดขึ้นอย่างรุนแรงทำให้จิตสำนึกในการพยายามหาต้หนตอของสาเหตุไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยดึงเข้าออกมาจากสถาณการณ์เพื่อลดระดับมลพิษทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น
        2.  ต่อต้านและลังเลในการก้าวเดินต่อไป (H-Hesitate and Resist) หลายครั้งเมื่ออัตตาในตัวเรามีสูงเรามักจะมองวิกฤตเป็นภาพเสมือนและมักจะยังยึดติดกับความเคยชินเดิมๆ และมักจะมีแรงต่อต้านที่เป็นเสมือนแรงสปริงที่เราพยายามจะเด็งกลับไปในสภาวะเดิมที่เราคุ้นเคยตลอดจนลังเลที่จะพยายามหาทางเลือกใหม่ที่จะเกิดขึ้นที่ดีกว่าเดิม จุดผกผันนี้สำคัญเพราะจะเป็นเสมือนทางสองแพร่งที่ถ้าไม่สามารถก้าวไปในขั้นต่อไปในการทำใจให้ยอมรับได้ก็อาจจะกลายเป็นคนซึมเศร้าหรือมีอารมณ์โกรธที่จะทำให้เกิดการตัดสินใจด้วยการใช้อารมณ์มากกว่ามองปัญหาด้วยปัญญา
        3.  ทำใจยอมรับ (A-Accept) เมื่อเราหยุดมองสภาวะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น สร้างความนิ่งให้เกิดขึ้นในจิตเรา เราก็จะมองเห็นธรรมชาติที่แท้จริงอย่างไม่ยึดติด การปล่อยวางจะทำให้เราค่อยๆ คลายปมทางจิตใจทำให้เรามองและวิเคราะห์ ตีโจทย์ให้แตกให้เห็นถึงรากแก้วที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้นตามสภาวะความเป็นจริง
        4.  หาแนวนวัตกรรมใหม่ (N-Navigate new innovation) การมองรากแก้วของปัญหาให้ทะลุด้วยความนิ่งในจิตใจ เสมือนกับน้ำที่นิ่งจะสามารถทำจิตให้มีสมาธิและสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นในการหาทางเลือกในการฝ่าวิกฤตได้อย่างชาญฉลาดทั้งจากความคิดใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นนตัวหรือการเปิดรับฟังทางเลือกดีๆ จากคนรอบข้างหรือข้อมูลที่อยู่ล้อมรอบตัวเรา
        5.  ชื่นชมและเชื่อมั่นในทางเลือกใหม่ (G-Gratitude and Believe) เมื่อเราได้แนวทางเลือกใหม่ สิ่งสำคัญก็คือต้องมีความรู้สึกชื่นชมและมีความเชื่อมั่นในเส้นทางสายใหม่ที่จะสร้างความหลุดพ้นให้เกิดขึ้นจากเส้นทางเดิมที่มีปัญหา ถ้าเราสร้างความรู้สึกนี้ได้เราจะสร้างจุดเริ่มต้นของความความเพียรในการสร้างเป็นนิสัยใหม่ขึ้นมา
        6.  กล้าที่จะก้าวเดินในทางสายใหม่อย่างมั่นคง (E-Encourage) การสร้างแนวคิดอย่างเดียวยังไม่พอเราจำเป็นที่จะต้องสร้างแนวปฎิบัติเพื่อสร้างนิสัยและความเคยชินใหม่ให้หลุดไปจากพื้นฐานของความคิดเดิมที่เรามีอยู่ การสร้างปรัชญาของ Win small แต่ Win often จะเป็นการสร้างความเชื่อให้เราก้าวเดินไปในเส้นทางสายใหม่ฝ่าวิกฤตอย่างมั่นคง



 
โดย อาจารย์กฤษณ์ รุยาพร  E-mail : kris@e-apic.com, Mobile 081-617-7785 
บทความได้รับการเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์


Home    l    About Us    l    Education Program    l    Consulting    l    Clients    l    Online Test
Books & Multi    l    Apic Leadership Review    l    Contact Us